หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV5 copy copy


ร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนสมัยพิเศษ เรื่อง การป้องกันการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมาย

     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบการดำเนินการตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์และการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชป่าว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมาย (Statement of ASEAN Ministers Responsible for CITES and Wildlife Enforcement on Illegal Wildlife Trade) และร่างถ้อยแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีอาเซียนฯ และร่างถ้อยแถลงข่าวร่วม ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีอาเซียนฯ และร่างถ้อยแถลงข่าวร่วม ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ

      สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีอาเซียนฯ และร่างถ้อยแถลงข่าวร่วม มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและมุ่งเน้นความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมายอย่างมีแบบแผนและ มีทิศทางที่แน่นอน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

       1. การดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าในระดับภูมิภาคและระดับโลก (Global and Regional Wildlife Trade Policy) โดยในระดับโลก (Global Level) คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 15.7 ว่าด้วยการปฏิบัติอย่างเร่งด่วนเพื่อยุติการล่าและการลักลอบค้าซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า และแก้ปัญหาด้านอุปสงค์และอุปทานที่มีต่อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย และ 15.c ว่าด้วยการเพิ่มการสนับสนุนในระดับโลกสำหรับความพยายามในการต่อต้านการล่าและการลักลอบค้าซึ่งชนิดพันธุ์คุ้มครอง ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นให้ดำรงชีวิตอยู่กับแหล่งทรัพยากรอย่างยั่งยืนและอนุสัญญา CITES ส่วนในระดับภูมิภาค (Regional Level) มีกรอบแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาคือ แผนปฏิบัติการความร่วมมือของอาเซียนว่าด้วยอนุสัญญา CITES และการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชป่า (Plan of Action for ASEAN Cooperation on CITES and Wildlife Enforcement (2016-2020)) และได้จัดทำแผนการดำเนินงานของคณะทำงานด้านการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย (Work Programme of SOMTC Working Group on Illicit Trafficking of Wildlife and Timber (2019 – 2021))

      2. การลดความต้องการบริโภค (Demand Reduction) โดยร่วมมือกันรณรงค์เพื่อลดความต้องการบริโภคชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า เสริมสร้างความตระหนักรู้และความรู้ด้านกฎหมายให้แก่ชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการศึกษาวิจัยการขับเคลื่อนของตลาดสำหรับชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าหรือผลิตภัณฑ์

     3. การบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) ให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการไหลเวียนของเงินตราที่ผิดกฎหมาย ต่อต้านการทุจริตคอรัปชันและการฟอกเงิน โดยการปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายในประเทศให้ดีขึ้น การร่วมมือโดยผ่านเครือข่ายการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชป่า (WENs) และการจัดทำแนวทางของอาเซียนในการสืบค้นและต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมาย

      4. การต่อต้านอาชญากรรมสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมายทางอินเตอร์เน็ต (Wildlife Cybercrime) โดยมีการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดด้านสัตว์ป่าและพืชป่าที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์และจัดตั้งคณะทำงานระหว่างประเทศเพื่อปราบปรามการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมายทางอินเตอร์เน็ต พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกอาเซียนจัดตั้งหรือเพิ่มชุดปฏิบัติการเฉพาะในระดับชาติ เพื่อติดตามการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมายทางอินเทอร์เน็ต

        ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มีนาคม 2562

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!