หมวดหมู่: พาณิชย์

MOC พมพชนก วอนขอพร


พาณิชย์ เผย เงินเฟ้อ มี.ค.62 อยู่ที่ 1.24% ส่วน Q1/62 อยู่ที่ 0.74%

    ก.พาณิชย์ เผย เงินเฟ้อทั่วไป มี.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.24 มาจากสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงาน ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ ร้อยละ 0.58 พร้อมประเมินราคาพลังงานยังเป็นความเสี่ยงที่สร้างความผันผวนต่อโครงสร้างการผลิต

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนมีนาคม 2562 อยู่ที่ 102.37 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยขยายตัวร้อยละ 1.24 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 0.41 จากเดือนก่อนหน้า

 โดยเงินเฟ้อทั่วไปเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.24 (YoY) ทั้งสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น โดยสินค้ากลุ่มอาหารสดสูงขึ้นร้อยละ 3.75 สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ตามการสูงขึ้นของผักสด ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะอากาศที่ร้อนจัด ทำให้พืชผักเสียหาย ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อย ส่วนสินค้ากลุ่มพลังงานกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยสูงขึ้นร้อยละ 2.07 ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง

 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (เงินเฟ้อพื้นฐาน) เดือนมีนาคม 2562 อยู่ที่ 102.34 ขยายตัวร้อยละ 0.58 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 0.02 จากเดือนก่อนหน้า

 ส่วนเงินเฟ้อไตรมาส 1/62 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.74 ตามการสูงขึ้นของสินค้ากลุ่มอาหารสดร้อยละ 2.50 ขณะที่กลุ่มพลังงานลดลงร้อยละ -0.79 และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4/61 ชะลอตัวเล็กน้อย (ไตรมาสที่ 4/61 สูงขึ้นร้อยละ 0.80)

  ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่า ปี 2562 เงินเฟ้อจะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างร้อยละ 0.7 - 1.7 (ค่ากลางร้อยละ 1.2)

  กระทรวงพาณิชย์ ยังประเมิน สถานการณ์และปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อเงินเฟ้อ ว่า ราคาพลังงาน ยังคงมีความเสี่ยงจากความผันผวนในโครงสร้างการผลิตและความต้องการโลก รวมทั้งบริบททางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง

  ส่วน การลงทุน มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีสัญญาณจากความคืบหน้าการลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ความต่อเนื่องของโครงการลงทุนเดิมที่ยังไม่แล้วเสร็จ และการขอรับการส่งเสริมการลงทุนโครงการต่าง ๆ แต่ยังมีความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถทำงานได้ตามแผน ราคาสินค้าเกษตร ราคาสินค้าเกษตรสำคัญยังคงมีแนวโน้มในทิศทางที่ดี รวมทั้งภาครัฐมีมาตรการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน ราคาสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมหลายตัวที่ผลิตในประเทศมีสัญญาณต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น แต่ยังมีแรงกดดันจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากการนำเข้า

  การส่งออก น่าจะขยายตัวได้ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับโอกาสในการย้ายฐานการผลิตเพื่อส่งออกหลายชนิดมายังประเทศไทยยังมีอยู่สูง ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อกำลังซื้อในประเทศ ค่าเงินบาท มีความเสี่ยงและความผันผวนสูง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงปริมาณเงินทุนไหลเข้าในประเทศ

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!