หมวดหมู่: แบงก์พาณิชย์

FITCH12 18


ฟิทช์: คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทย ยังทรงตัวในขณะที่ฐานะเงินกองทุนยังแข็งแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

       ฟิทช์ เรทติ้งส์ – กรุงเทพฯ – 30 กรกฎาคม 2561: ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า ธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยมีผลประกอบการทรงตัวในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 โดยแนวโน้มของคุณภาพสินทรัพย์และความสามารถในการทำกำไรที่ยังสนับสนุนโครงสร้างเครดิต แม้ว่าอัตราการเติบโตของธุรกิจสินเชื่อจะต่ำกว่าประมาณการเดิมของฟิทช์ซึ่งสะท้อนถึงบรรยากาศทางธุรกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (business sentiment and consumer confidence) ที่ยังซบเซา แต่เราคาดว่าผลประกอบการของธนาคารจะยังทรงตัวและมีผลกำไรจากการดำเนินงานในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ส่งผลให้ฐานะของเงินกองทุนจะยังคงแข็งแรงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและสนับสนุนให้ธนาคารสามารถรองรับความเสี่ยงเชิงลบรวมถึงผลกระทบจากการเริ่มใช้มาตรการและกฏระเบียบใหม่ เช่น การเริ่มใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 (IFRS9) ในปี 2563

      อัตราการเติบโตของธุรกิจสินเชื่อของธนาคารไทยที่ 1% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 นั้นต่ำกว่าระดับคาดการณ์ของฟิทช์ค่อนข้างมาก ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการใช้สินเชื่อที่ต่ำและการอนุมัติให้เงินกู้ยืมอย่างระมัดระวังของธนาคาร แม้ว่าธุรกิจสินเชื่อน่าจะปรับตัวดีขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของปีแต่การที่อัตราการขยายตัวจะสามารถเร่งตัวขึ้นให้ใกล้เคียงกับระดับอัตราการเติบโตคาดการณ์ของฟิทช์ที่ 7% นั้นน่าจะมีความท้าทายอย่างมาก จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้การเติบโตของสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ในระดับต่ำฐานะเงินกองทุนของธนาคารจึงยังคงอยู่ในระดับสูง ในด้านอัตราการเติบโตของสินเชื่อรายย่อยที่ปรับตัวลดลงเหลือ 3.1% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 จากเดิมที่ 7.8% ในปี 2561 นั้นเนื่องจากยอดขายรถยนต์ที่ชะลอตัวลงและการบังคับใช้มาตรการกำหนดเพดานอัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2562 สำหรับการเติบโตของปริมาณสินเชื่อภาคธุรกิจก็ยังคงถูกกดดันจากความล่าช้าของการอนุมัติโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

               ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศไทยขยายตัวในอัตรา 4.1% ในปี 2561 แต่คาดว่าอัตราการขยายตัวจะลดลงเหลือ 3.3% ในปีนี้ในขณะที่จะขยายตัวเล็กน้อยที่อัตรา 3.5% ในปี 2563 โดยมีความเสี่ยงเชิงลบจากความล่าช้าของโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลดเม็ดเงินลงทุนของบริษัทที่เน้นการส่งออกและสงครามทางการค้าที่อาจทวีความตึงเครียดขึ้น

               คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารไทยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ยังคงทรงตัวโดยมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ 3.7% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 และน่าจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับคล้ายเดิมได้ในช่วงที่เหลือของปี ทั้งนี้ความเสี่ยงเชิงลบอาจมาจากภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรถยนต์ซึ่งมีภาระหนี้อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงซึ่งสินเชื่อรายย่อยเหล่านี้มีความสามารถน้อยในการจ่ายชำระหนี้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่เศรษฐกิจผันผวนหรืออ่อนตัวลง อย่างไรก็ตามเราคาดว่าความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์จะไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายใต้สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และความเสี่ยงดังกล่าวน่าจะถูกบรรเทาลงได้บางส่วนจากมาตรการดูแลในเชิงป้องกัน (macro-prudential regulations) ของธปท และระดับสำรองหนี้สูญที่อยู่ในระดับสูง โดยอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพเฉลี่ยของระบบธนาคารอยู่ที่ 152%

      ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิไม่รวมรายการพิเศษน่าจะยังทรงตัวต่อไปได้ในระยะสั้น โดยตลาดคาดการณ์ว่าระดับอัตราดอกเบี้ยไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากและการขยายตัวของธุรกิจสินเชื่อที่อยู่ในระดับต่ำก็น่าจะไม่ส่งผลกดดันสภาพคล่องของระบบธนาคาร (การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับสถานการณ์ด้านสภาพคล่องที่มีความรุนแรง หรือ Liquidity Coverage Ratio ของระบบธนาคารไทยอยู่ที่ 173% ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2562) ทั้งนี้ฟิทช์คาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมและค่าความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ (credit cost) จะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มของผลกำไรของธนาคารในอนาคต

     อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ของธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอยู่ที่ 1.3% ณ วันที่ 30 มิถุนายน โดยลดลงเพียง 2bps จากปีก่อนหน้า จากค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลงมาก อันเนื่องมาจากฐานะเงินกองทุนของธนาคารยังอยู่ในระดับที่แข็งแรงและคุณภาพสินเชื่อที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลงช่วยลดผลกระทบของค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ที่สูงขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน เงินลงทุนในด้านการดำเนินงานและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงช่วยบรรเทาผลกระทบจากการลดลงของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยโดยเฉพาะจากรายได้เบี้ยประกันภัยที่ลดลงจากการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ ทั้งนี้สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ปรับเพิ่มเป็น 46.2%

 

 

Fitch Rtgs: Thai Bank Stable Asset Quality, Capital Build to Continue

    Fitch Ratings-Bangkok-30 July 2019: The 1H19 financial results for Thailand's listed banks were stable, with trends in asset quality and profitability broadly supportive of credit, Fitch Ratings says. Loan growth fell short of estimates, reflecting continued subdued business sentiment and consumer confidence. However, we would expect profitability and stability of returns for the remainder of 2019, with a continued gradual buildup of capital to guard against downside risks as well as upcoming regulatory measures such as IFRS9 implementation in 2020.

    Credit growth for Thai banks was much lower than expected at 1% for 1H19, reflecting lack of demand and conservative underwriting. While expected to improve, it will likely trail Fitch's full-year forecast of 7% given current trends, with increased preservation of capital as a result. Anemic retail lending growth fell to 3.1% for 1H19, down from the 7.8% growth of 2018 due to slowing auto sales and the Bank of Thailand's (BOT) tightening of loan-to-value measures on mortgages that became effective in April 2019. Corporate lending also encountered pressure, with mounting approval delays of new infrastructure projects.

      Thailand's GDP was 4.1% in 2018 and is expected to fall to 3.3% this year before moderating to 3.5% in 2020. Continued infrastructure project delays and lower investment by export-oriented firms remain downside risks, as does further escalation of the trade war.

     Listed Thai bank asset quality has been stable with an impaired loan ratio of 3.7% as of June 30, 2019. We expect more of the same for the rest of the year. Downside risks could come from small to medium enterprise (SME), residential mortgage and auto loans segments, which have relatively high debt levels and a reduced capacity to withstand shocks. However, we do not expect a substantial increase in asset quality risk under current economic conditions, aided by the BOT's recent macro-prudential regulations and the banks' high loan loss reserves, with allowances at 152% of impaired loans.

      Core net interest margins are expected to be stable in the near term. Market expectations are for interest rates to be little changed, and the low levels of credit growth should not pressure bank liquidity, as the system's liquidity coverage ratio was 173% as of May 2019. We expect earnings trends going forward to be driven by fee income and credit costs.

    Return on assets for listed banks was 1.3% at June 31, down just 2 bps YOY but aided by a substantial decline in provisioning expense amid solid capital buffers and the expectation for credit improvement. Lower credit provisions helped offset higher employment costs, investment in operations and IT and the significant reduction in non-interest income, pressured by lower insurance premiums due to regulatory changes. Hence, expenses as a percentage of income rose to 46.2% versus 44.3% YOY and are expected to remain elevated in the near term.

Contact:

Jindarat Sirisithichote

Associate Director, Banks - APAC

+66 2 108 0153

Fitch Ratings (Thailand) Limited

Park Ventures, Level 17

57 Wireless Road, Lumpini, Patumwan

Bangkok 10330

Laura Kaster, CFA

Senior Director, Fitch Wire

+1 646 582-4497

Fitch Ratings, Inc.

33 Whitehall Street

New York, NY, 10004

3

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!