หมวดหมู่: อุตสาหกรรม

1.AAA A AAAกนอแหลมฉบง


กนอ. แจงข้อเท็จจริงโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งอนาคตบริเวณพื้นที่แหลมฉบัง

     จากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ได้เผยแพร่ข่าว กรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนออกแถลงการณ์ กรณีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัท เอ็กซอน โมบิล คอร์ปอเรชั่น ได้ยื่นข้อเสนอที่จะลงทุนเพื่อก่อสร้างท่าเรือ-โรงงานปิโตรเคมี มูลค่า 3.3 แสนล้านบาท โดยมีเงื่อนไขว่าภาครัฐจะต้องจัดหาพื้นที่ให้ในรัศมี 5 กม.จากโรงกลั่นเอสโซ่แหลมฉบัง ซึ่งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) มีแผนจะถมทะเลในพื้นที่แหลมฉบังเพื่อรองรับท่าเรือและโรงงานดังกล่าว จำนวน 1-3 พันไร่

     โดยนายศรีสุวรรณ จรรยา เห็นว่า การถมทะเลเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญกล่าว คือ 1. การถมทะเลเพื่อประกอบกิจการท่าเรือ-โรงงานปิโตรเคมี เป็นเพียงอุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติกในอุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ ตามนโยบายของ EEC ที่ต้องการให้เกิดอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง..ในการสร้างนวัตกรรมหรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีจึงขัดหรือแย้งต่อ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561

     2. การถมทะเลจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทรัพยากรทางทะเลและชยฝั่งรวมทั้งผลกระทบต่อวิถีทางการประมงพื้นบ้านและการท่องเที่ยวของชุมชนในบริเวณทะเลแหลมฉบัง อ่าวอุดม เกาะสีชัง และอาจส่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติตามมาเพราะท่าเรือสามารถปรับใช้เป็นฐานยิงขีปนาวุธได้ และเป็นฐานสอดแนมข่าวกรองสารสนเทศในพื้นที่ได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นพื้นที่ก็จะกลายเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางทหารที่มีขอบเขตตลอดทั้งอ่าวไทยและทะเลจีนใต้รวมถึงฝั่งทะเลภาคใต้ทั้งหมดด้วย

      3. การถมทะเลเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทต่างชาติอาจเข้าข่ายการละเมิดสิทธิการจัดการ บำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามกฏหมายไทยได้ อันเป็นการขัดต่อ ม.43(2) ประกอบ ม.50(2)(8) โดยชัดแจ้ง นอกจากนั้นยังถือว่าเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยหน้าที่ของรัฐตาม ม.52 ม.53 ม.57 และ ม.58 ของรัฐธรรมนูญ 2560 อีกด้วย

     ในการนี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องดังนี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนและประสานงานการลงทุน ในการศึกษาความเหมาะสมด้านเทคนิค (Preliminary Technical Feasibility Study) และการจัดทำแนวคิดการออกแบบเบื้องต้น (Conceptual Design) ในการพัฒนาพื้นที่บริเวณแหลมฉบังให้เป็นพื้นที่สำหรับรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของพื้นที่ ซึ่งจะครอบคลุมถึงปัจจัยผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมกับทำเลที่ตั้ง

    ทั้งนี้ จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นในการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะในประเด็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยต้องให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อประกอบการพิจารณาการวางแผนการดำเนินโครงการอย่างรอบคอบรอบด้าน และเป็นไปตามข้อกำหนด กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง และต้องเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุนส่งเสริมกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 12 ประเภท ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยจะต้องใช้หลักเกณฑ์การออกแบบและการบริหารจัดการตามแนวคิดอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึงต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไข และมาตรการการติดตามตรวจสอบตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเสนอคณะกรรมการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตลอดจนคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบดำเนินโครงการตามกฎหมาย ก่อนการดำเนินโครงการต่อไป

รัฐมนตรีสุริยะฯ มอบ กนอ. ขับเคลื่อนแผนงาน 100 วัน ดันเศรษฐกิจ เดินหน้าท่าเรือฯ มาบตาพุดเฟส 3 นิคมฯสมาร์ทปาร์ค -เร่งจัดหาพื้นที่รองรับเอสเอ็มอี-สตาร์ทอัพ

        นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจเยี่ยมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมมอบนโยบายเร่งรัดการดำเนินงานให้ชัดเจนภายใน 100 วันตามนโยบาย ที่กำหนดไว้ เพื่อเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจท่ามกลางปัจจัยเสี่ยง ทั้งโครงการท่าเรือฯ มาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่1) ที่คาดว่าจะลงนามกับเอกชนได้ในเดือนกันยายนนี้ ส่วนเรื่องนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค เพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีตามกำหนด 100 วัน เร่งการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน SEZ การหาพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมรับลงทุนเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ

     โดยมีนายภิรมย์ พลวิเศษ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมตรวจเยี่ยม และมีนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะผู้บริหารระดับสูงของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 205 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย #กระทรวงอุตสาหกรรม #ท่าเรือฯ มาบตาพุดเฟส 3 #เอสเอ็มอี-สตาร์ทอัพ

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!