หมวดหมู่: ยานยนต์

5941 LowCarbonCityEV


 

อว. ยกทัพยานยนต์ไฟฟ้า จัดแสดงในงาน Low Carbon City & EV Expo 2022 ที่นครราชสีมา

          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ยกทัพยานยนต์ไฟฟ้า จากการสนับสนุนทุนวิจัยพัฒนาของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยและเอกชน นำผลงานวิจัยรถบรรทุกหกล้อไฟฟ้าดัดแปลง รถกระบะไฟฟ้าดัดแปลง และรถโดยสารไฟฟ้า เพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ ที่พัฒนาโดยคนไทย 100% ร่วมจัดแสดงภายในงาน Low Carbon City & EV Expo 2022 ระหว่างวันที่ 20 – 22 พฤษภาคม 2565 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา และได้รับเกียรติจากคุณวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด ผู้ประกอบการด้านยานยนต์ไฟฟ้า และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมชมงาน

          รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในฐานะผู้จัดงาน ผลักดันการวิจัยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ได้แก่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และหน่วยงานที่ร่วมทำการวิจัยที่ประกอบด้วยภาคการศึกษา ภาคเอกชน และหน่วยงานวิจัยอื่นๆ เป็นที่มาของความสำเร็จในการพัฒนาต้นแบบยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์โดยคนไทย และได้มีการนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อให้ชาวจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียงได้มีโอกาสได้เข้ามาเยี่ยมชมและสัมผัสผลงานวิจัยด้านอุตสาหกรรมระบบคมนาคมแห่งอนาคต หรือ Future Mobility ได้อย่างใกล้ชิด

 

GC 720x100

 

          รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต บพข. ได้กล่าวว่า มีความหวังว่ายานยนต์ไฟฟ้าจำนวน 3 คัน ที่ได้ถูกนำมาจัดแสดงผลงานภายใต้บูท บพข. ในครั้งนี้ จะสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาในระดับที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นและประสบความสำเร็จในอนาคต ได้แก่ 1. รถโดยสารไฟฟ้า พัฒนาโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ร่วมกับ บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งพัฒนาเป็นรถโดยสารไฟฟ้า Intercity สำหรับวิ่งทางไกล ที่ออกแบบใหม่ทั้งคันให้มีน้ำหนักเบาและมีระบบอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว 2. รถกระบะไฟฟ้าดัดแปลง พัฒนาโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท M-world Logistics Co.,Ltd. ที่มีการออกแบบระบบแบตเตอรี่ไว้ใต้ท้องรถ ที่สามารถต่อยอดไปสู่ระบบสลับแบตเตอรี่ได้ในระยะต่อไป และ 3. รถบรรทุกหกล้อไฟฟ้าดัดแปลง พัฒนาโดย บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งมีการพัฒนาระบบ Active Cooling System ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทฯ เป็นนวัตกรรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ โดยทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยเชิงพาณิชย์ ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและมีความสำคัญ

          ดร.ธนาคาร วงษ์ดีไทย เลขานุการร่วมคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต บพข. สอวช. ได้กล่าวว่าหน่วยงานภาครัฐอยากเห็นภาคเอกชนไทย มีความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับสูงและก้าวขึ้นสู่เวทีโลกโดยการให้ทุนวิจัยมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างความสามารถทางการแข่งขัน และการสนับสนุนให้เกิด Ecosystem มาตรฐานและกลไกการขยายผล นอกจากนี้ยังต้องการได้รับการผลักดันและต้องการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มเติมในหลายส่วน อยากสร้างและเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาคการศึกษาวิจัยและหน่วยงานภาคเอกชนไทยร่วมมือกัน เข้ามาขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยในหัวข้อที่มีความท้าทาย และเมื่อทำเสร็จแล้วอยากให้นำผลงานวิจัยเชิงพาณิชย์มาจัดแสดงเพื่อให้เป็นทางเลือกของประชาชน และผู้ที่ต้องการ Solutions ได้นำไปต่อยอดทดลองใช้งานจริงได้มากขึ้นในอนาคต

          รศ.ดร.ธนัดชัย กุลวรวานิชพงษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้กล่าวว่า ได้มีการออกแบบระบบขับเคลื่อนตัวรถให้มีพละกำลังสามารถวิ่งได้เป็นอย่างดีภายใต้สภาพพื้นถนนที่มีความลาดชันและมีเส้นทางขึ้นลงอย่างต่อเนื่อง โดยจุดเด่น ของระบบขับเคลื่อนนี้ ได้มีการทดสอบระบบอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ พร้อมที่จะพัฒนาและขยายผลในเชิงพาณิชย์

 

5941 LowCarbonCityEV2

 

          คุณสุรวุฒิ เชิดชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ได้มีการพัฒนารถโดยสารระหว่างเมืองภายใต้แบรนด์เชิดชัยและการมุ่งพัฒนาแพล็ตฟอร์มรถไฟฟ้า เพื่อสร้างองค์ความรู้เชิงลึกให้กับบริษัทให้สามารถแข่งขันได้ และสามารถรองรับเทคโนโลยีพลิกผัน EV Disruption และสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มราคาสูงขึ้นได้ และปัจจุบันบริษัทคือผู้นำด้านการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าขึ้นมาเอง โดยที่ผ่านมาได้มีการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจำนวน 2 คัน ได้แก่ คันแรกเป็นรถโดยสารไฟฟ้าที่ได้มีการพัฒนาร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คันที่สองเป็นรถโดยสารไฟฟ้าระบบไฮบริดร่วมกับบริษัท Hino และคันในปัจจุบันเป็นการพัฒนาคันที่สาม ร่วมกับ มทส. นับว่าเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่แก้ปัญหาของการทำรุ่นที่ผ่านมาให้มีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ให้ดีมากยิ่งขึ้น ทั้งระบบขับเคลื่อน ระบบอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว ตัวโครงสร้างรถซึ่งได้ออกแบบให้มีน้ำหนักเบามากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นรถที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง และถ้ามี volume ความต้องการหรือมีคนสั่งผลิตรถโดยสารจำนวนมาก บริษัทมีความมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาชิ้นส่วนสำคัญได้เองภายในประเทศเกือบครบทุกชิ้นส่วน ตอนนี้มีชิ้นส่วนเดียวที่ไม่สามารถทำได้คือเซลล์แบตเตอรี่ และนับว่ายังต้องพึ่งพาการนำเข้าแบตเตอรี่แพ็คจากประเทศจีน และเป็นส่วนที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงโดยเฉพาะในเรื่องของภาษี อยากให้รัฐบาลช่วยพิจารณามาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการ ซึ่งหากมีการปลดล๊อกเรื่องแบตเตอรี่และภาษีทำให้สามารถแพ็คได้เองภายในประเทศจะทำให้รถโดยสารไฟฟ้าของไทยสามารถแข่งขันได้ทั้งในเรื่องของคุณภาพและราคากับรถโดยสารไฟฟ้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ

 

BANPU 720x100

 

          ผศ.ดร.อุเทน สุปัตติ หัวหน้าโครงการพัฒนาต้นแบบรถบรรทุกขนาดเล็กไฟฟ้าดัดแปลงสำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และพันธมิตร บริษัท M-World Logistic โดยมี รศ.ดร.เชาวลิต มิตรสันติสุข เป็นผู้ร่วมวิจัย ได้นำเสนอต้นแบบรถบรรทุกขนาดเล็กไฟฟ้าดัดแปลง ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานในกิจการ Logistics และบริการจัดส่งสินค้าของบริษัท M-World Logistic จุดเด่นของรถดัดแปลงคันดังกล่าวคือได้ถูกออกแบบให้เหมาะสมต่อการใช้งานรับส่งสินค้าในเชิงพาณิชย์ ทั้งขนาดน้ำหนักการบรรทุก ความเร็ว อัตราเร่ง และระยะทางในการวิ่งต่อการอัดประจุ นอกจากนั้นแล้วยังมีการติดตั้ง Battery Pack ไว้ใต้ท้องรถ เพื่อการทรงตัวที่ดีของรถ และเพื่อรองรับการการพัฒนาต่อยอดไปสู่รถไฟฟ้าดัดแปลงที่ใช้แพล็ตฟอร์มแบตเตอรี่แบบสับเปลี่ยนได้ (Swapping Battery Platform) ในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการดำเนินการอัดประจุและสอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม Logistics และบริการจัดส่งสินค้าในอนาคตได้เป็นอย่างยิ่ง

 

5941 LowCarbonCityEV3

 

          คุณพนัส วัฒนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ได้กล่าวว่าบริษัทฯ มียุทธศาสตร์และพันธกิจ ที่ชัดเจนในการมุ่งสู่ธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่และโมบิลิติ้แพลตฟอร์ม ผ่านทางการวิจัยพัฒนาและการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรในบริษัทฯ และการพัฒนาโซ่คุณค่าผู้ประกอบการไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก บพข. โดย บริษัทฯ มุ่งเน้นเรื่องของยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงในระยะแรกเนื่องจากมีความต้องการจากลูกค้าที่เป็นฐานลูกค้าเดิมจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มีฝูงรถที่ต้องการปรับเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ภายในงบประมาณที่เหมาะสม การโชว์รถรถบรรทุกหกล้อดัดแปลงเชิงพาณิชย์ในงาน Low Carbon City & EV Expo 2022 ครั้งนี้ จึงเป็นการตอกย้ำและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ ทั้งทางด้านวิศวกรรมและด้านเศรษฐศาสตร์ อนึ่ง บริษัทฯ ยังเน้นย้ำเรื่องของการให้บริการแบบครบวงจรที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศของไทย ได้แก่ การให้บริการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าและการบริหารไฟฟ้าจากสายส่ง การให้คำปรึกษาด้านการบริหารเส้นทางและขนาดแบตเตอรี่ที่เหมาะสม การให้บริการหลังการขาย การให้บริการด้านการจดแจ้งเปลี่ยนทะเบียน รวมถึงการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ ได้แก่ การขายชุด Conversion Kit และการเปิดสาขาแบบ Franchise พร้อมการฝึกอบรมวิศวกรและช่างชำนาญการด้าน EV Conversion” ทั้งนี้คุณพนัส วัฒนชัย ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไฟฟ้าและแบตเตอรี่ ดังนั้น บริษัท พนัสฯ ได้มีการร่วมวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้าน Engineering, Development, and Test ของโมดูลแบตเตอรี่ กับบริษัทแบตเตอรี่ระดับโลก Contemporary Amperex Technology Co., Limited (CATL) ภายใต้ MOU ความร่วมพัฒนาธุรกิจแบตเตอรี่ในไทยและอาเซียน ตั้งแต่ วันที่ 12 กรกฎาคม .. 2564 และจะได้รับโมดูลแบตเตอรี่ภายในเดือน สิงหาคม .. 2565 เพื่อนำมาใช้กับรถบรรทุกไฟฟ้าดัดแปลงเชิงพาณิชย์ตามความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อจัดจำหน่ายทั้งในไทยและต่างประเทศ

 

5941 LowCarbonCityEV4

 

          ภายในงานได้มีกิจกรรมเสวนาทางวิชาการเป้าหมายการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ อนาคตยานยนต์ไฟฟ้าไทยในวันที่ 21 พฤษภาคม 2565 ห้องลำตะคอง โรงแรมแคนทารี นครราชสีมา มีผู้เข้าร่วมฟังการเสวนาที่ห้องประชุมและที่เข้าร่วมผ่านทางโปรแกรม Zoom ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังจำนวนมาก โดยได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของการตั้งเป้าหมายการเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ และมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานไปสู่การพัฒนาเมืองให้ดีขึ้น เช่น การไปสู่ Smart City ของจังหวัดขอนแก่น และการริเริ่มและการไปสู่เมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ของจังหวัดนครราชสีมา ที่มีจะมีการนำยานยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ เข้ามาใช้งานมากขึ้น ในเวทีเสวนาหัวข้ออนาคตยานยนต์ไฟฟ้าไทย กับการมุ่งสู่เป้าหมายเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ได้มีการให้ทิศทางการดำเนินงานของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ คุณกิตติศักดิ์ วรรณแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบไฟฟ้า (PEA) กล่าวว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีหน้าที่ปรับปรุงและพัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีความทันสมัย ปัจจุบันไทยมีรถ EV 100% ที่จดทะเบียนอยู่จำนวน 5,000 คัน คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 100,000 คัน ในอีก 5 ปีข้างหน้า จึงต้องเตรียมการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้งาน และจะมีการนำเทคโนโลยี V2H และ V2G มาใช้รองรับการใช้งานกับยานยนต์ไฟฟ้า ด้าน คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวว่า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้า กล่าวถึงการลดปัญหาด้านมลพิษว่า EVAT มีการสนับสนุนด้านการตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ปัจจุบัน มีสถานีชาร์จจำนวน 600 แห่ง และมี 22,000 หัวจ่าย ทั่วประเทศ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามกำลังมีการขยายจำนวนสถานีชาร์จเพิ่มเพื่อรองรับการใช้งานรถ EV ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่น EV roaming / EV consortium ร่วมกับผู้ให้บริการสถานีชาร์จ EV หลายๆ รายให้สามารถใช้งานร่วมกันได้เป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ ด้าน คุณสุรวุฒิ เชิดชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ได้มีการทำงานร่วมกับหลายมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อทำรถโดยสารไฟฟ้าแบบ Intercity รวมถึงได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้ประชาชนที่ใช้บริการรถบัสไฟฟ้า มีความมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยในการการเดินทาง และไม่ปล่อยมลพิษ ด้าน ผศ.ดร.วิมล แสนอุ้ม ผู้อำนวยการหน่วยกลยุทธ์ธุรกิจนวัตกรรม บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ภาคเอกชนจำเป็นต้องพัฒนา 3 ส่วน คือ 1. Hardware, 2. Software, 3. Peopleware เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนไปมาก ความรู้เดิมที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอ จำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ และการพัฒนาจำเป็นต้องสร้างคนที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อให้สามารถต่อยอดทำในสิ่งที่ยากและซับซ้อนมากขึ้นเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ด้าน ดร.ธนาคาร วงษ์ดีไทย คณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต ได้ให้ทิศทางของการให้ทุนวิจัยของ บพข. ที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะช่วยสร้างให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการไปสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ และกล่าวเสริมว่าสำหรับผู้ที่สนใจ ปัจจุบัน พบข. อยู่ระหว่างการเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยด้าน Future Mobility จนถึงวันที่ 30 .. 2565 ผ่านช่องทาง www.pmuc.or.th 

 

5941 LowCarbonCityEV5

 

A5941

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!