หมวดหมู่: พาณิชย์

1aaa1M อรมน ทรัพย์ทวีธรรม


กรมเจรจาฯ ลุยภูเก็ต-ปัตตานี ชี้ช่อง“หอยเป๋าฮื้อ-อาหารทะเล-ปลาสลิด”ใช้ FTA ส่งออก

     กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเตรียมลงพื้นที่ 2 จังหวัดภาคใต้ เผยที่ภูเก็ต จะนำทีมไปแนะนำให้ความรู้และผลักดัน หอยเป๋าฮื้อ ใช้ประโยชน์จาก FTA ส่งออก และช่วยยกระดับผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ เพิ่มช่องทางการตลาด ส่วนที่ปัตตานีจะพบปะกับกลุ่มอาหารทะเลแปรรูป ผ้าทอพื้นเมือง และปลาสลิด ชี้ช่องทำตลาดด้วย FTA เช่นเดียวกัน

     นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ มีกำหนดการลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและปัตตานี ระหว่างวันที่ 8-9 มี.ค.2564 โดยที่จังหวัดภูเก็ต จะไปสำรวจศักยภาพการทำประมงเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ ซึ่งเป็นสินค้าเศรษฐกิจมูลค่าสูง จะเน้นส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ขยายส่งออกตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพ ทั้งญี่ปุ่น ออสเตรเลีย จีน และเกาหลีใต้ และจะนำทีมวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญเรื่องสินค้ากลุ่มสิ่งทอ จัดสัมมนาให้ความรู้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผลิตผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ “พรชนก” ให้สามารถยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งขยายช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น และสร้างรายได้ให้กับชุมชน

      ส่วนที่จังหวัดปัตตานี จะไปผลักดันโครงการ “สร้างเครือข่ายเชื่อมโยง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่ตลาดการค้าเสรีอาเซียน” โดยจะพบหารือผู้ประกอบการและเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้านบูดี อำเภอยะหริ่ง ที่มีผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปที่หลากหลาย เช่น ข้าวเกรียบปลาหรือกือโป๊ะ ปลาทุบปรุงรส และปลาเส้นปรุงรส ซึ่งเป็นสินค้าได้รับมาตรฐานฮาลาลและส่งออกไปตลาดมาเลเซียและจีน รวมทั้งจะพบหารือกลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าบ้านตรัง อำเภอมายอ ที่ผลิตผ้าจวนตานีหรือผ้าลีมา ซึ่งเป็นผ้าทอลายโบราณบนผืนผ้าไหม และจะหารือกับกลุ่มเลี้ยงปลาสลิดดอนนา อำเภอโคกโพธิ์ ที่มีผลิตภัณฑ์ปลาสลิดแดดเดียว น้ำพริกปลาสลิด และปลาส้ม ซึ่งกลุ่มต้องการเพิ่มช่องทางจำหน่ายในตลาดในประเทศและต่างประเทศ

    “การลงพื้นที่ภูเก็ตและปัตตานีในครั้งนี้ กรมฯ จะเน้นการสร้างโอกาสของสินค้าที่มีศักยภาพของไทย เพื่อขยายส่งออกไปตลาดต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จาก FTA ที่ประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่ของไทยได้ลดหรือยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าที่ส่งออกจากไทยแล้ว โดยเฉพาะผู้ประกอบการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความใกล้ชิดกับตลาดอาเซียน ซึ่งสามารถขยายส่งออกได้ทั้งตลาดมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบรูไน ซึ่งการขยายตลาดส่งออก จะช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน ลดการพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวที่กำลังซบเซา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด”นางอรมนกล่าว

ประเดิมปี 64 มูลค่าการค้าไทยกับประเทศคู่เจรจา FTA โตต่อเนื่อง ดันส่งออกสินค้าเกษตร ขยายตัว 19% และสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 5%

      กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผย สถิติการค้าของไทยกับประเทศคู่เจรจา FTA เดือนมกราคม 2564 มีมูลค่ากว่า 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 3% พบส่งออกสินค้าเกษตร มาแรง พุ่ง! 19% ตลาดอาเซียน จีน และฮ่องกง เติบโตดี ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม โต 5% ชี้! การส่งออกสินค้าไทยยังมีโอกาสขยายตัว ตามสัญญาณฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญของไทย

     นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทย ในช่วงเดือนมกราคม 2564 พบว่า การค้าของไทยกับประเทศที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) 18 ประเทศ มีมูลค่า 25,571.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.31% จากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วน 64.55% ของการค้าไทยทั้งหมด ซึ่งเป็นการส่งออกไปประเทศคู่เอฟทีเอ มูลค่า 12,162.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (+4.04%) คิดเป็นสัดส่วน 61.72% ของการส่งออกทั้งหมด และเป็นการนำเข้าจากประเทศคู่เอฟทีเอ มูลค่ารวม 13,409.0 ล้านเหรียญสหรัฐ  (+2.66%) คิดเป็นสัดส่วน 67.35% ของการนำเข้าทั้งหมด

      นางอรมน กล่าวว่า การส่งออกสินค้าของไทยมีการเติบโตในหลายรายการ อาทิ สินค้าเกษตร (กสิกรรม ปศุสัตว์และประมง) โดยไทยส่งออกไปประเทศคู่เอฟทีเอ มูลค่า 1,288 ล้านเหรียญสหรัฐ (+19.4%) คิดเป็นสัดส่วน 72.16% ของการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยทั้งหมด ตลาดคู่เอฟทีเอที่มีการขยายตัว ได้แก่ อาเซียน (+13%) อาทิ มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา สิงคโปร์ และเมียนมา จีน (+40%) ฮ่องกง (+24%) เกาหลีใต้ (+2%) อินเดีย (+63%) และเปรู (+768%)

     นอกจากนี้ สินค้าอุตสาหกรรมมีการส่งออกขยายตัวเช่นเดียวกัน อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และวงจรไฟฟ้า โดยมีการส่งออก มูลค่า 9,446.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (+5.14%) คิดเป็นสัดส่วน 59.31% ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด ตลาดคู่เอฟทีเอที่มีการขยายตัว ได้แก่ เวียดนาม (+16%) มาเลเซีย (+41%) ลาว (+4%) เมียนมา (+2%) จีน (+3%) ญี่ปุ่น (+6%) ฮ่องกง (+23%) เกาหลีใต้ (+23%) ออสเตรเลีย (+35%) นิวซีแลนด์ (+50%) และเปรู (+19%)

     สำหรับ สินค้าเกษตรแปรรูปของไทย แม้การส่งออกจะชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยมีมูลค่า 829.1 ล้านเหรียญสหรัฐ    (-5.57%) แต่การส่งออกในหลายตลาดคู่เอฟทีเอยังคงสามารถขยายตัวได้ โดยเฉพาะอาเซียน (+1.4%) อาทิ มาเลเซีย เวียดนาม  สิงคโปร์ ลาว และบรูไน ซึ่งจากเดิมในปี 2563 การส่งออกมีการหดตัวมาโดยตลอด นอกจากนี้ ฮ่องกง และชิลี มีการนำเข้าสินค้าเกษตรแปรรูปจากไทยเพิ่มขึ้น อาทิ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และเครื่องดื่ม

      นางอรมน เพิ่มเติมว่า การส่งออกของไทยในเดือนมกราคมที่ผ่านมามีการขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนธันวาคม 2563 จากปัจจัยบวก อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจการค้าโลก การผ่อนคลายมาตรการปิดประเทศ มาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง และการเริ่มกระจายการฉีดวัคซีนต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยในอนาคต พบว่า มีโอกาสสูงที่การส่งออกของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากความพร้อมของไทยที่สามารถควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ดี ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญมีแนวโน้มขยายตัว ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยควรต้องปรับตัวและปรับการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เช่น การควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้าที่ปลอดภัยไร้การปนเปื้อนของเชื้อโรค และการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีที่ไทยได้รับการลดและยกเว้นภาษีนำเข้ากับกลุ่มประเทศคู่เอฟทีเอ เป็นต้น

'COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!