หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 39


มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568

           คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เสนอดังนี้

           1. รับทราบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568

           2. มอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว โดยรายงานให้ กนช. ทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป

           สาระสำคัญของเรื่อง

           กนช. รายงานว่า 

           1. ตามปฏิทินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ให้หน่วยงานนำไปใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงาน สำหรับช่วงฤดูฝนเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี (ยกเว้นพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน และสิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี) ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ (1) ช่วงก่อนฤดู เป็นการเตรียมการและสร้างการรับรู้ (2) ช่วงระหว่างฤดู เป็นการวิเคราะห์ ติดตาม ประเมินสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยและการให้ความช่วยเหลือ และ (3) ช่วงสิ้นสุดฤดู เป็นการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล ซึ่งในช่วงก่อนฤดูฝนของทุกปีจะมีการจัดทำมาตรการรับมือฤดูฝน

           2. ในครั้งนี้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับทุกภาคส่วนประชุมหารือกำหนดมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 จำนวน 10 มาตรการ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที รวมทั้งได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้งปี 2567/2568 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

               2.1 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 จำนวน 10 มาตรการ ดังนี้

 

การดำเนินการ

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

มาตรการที่ 1 คาดการณ์ชี้เป้าและแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงฝนทิ้งช่วง (เดือนมีนาคม 2567 เป็นต้นไป)

(1) คาดการณ์ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำในลำน้ำ ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม พร้อมปรับข้อมูลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เตรียมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน

(2) ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำจากฝนทิ้งช่วง เพื่อให้หน่วยงานนำไปกำหนดแผนปฏิบัติเพื่อเตรียมดำเนินในเชิงป้องกันล่วงหน้าในพื้นที่เสี่ยง

(3) เพิ่มประสิทธิภาพ/ปรับแผนการแจ้งเตือนระยะยาว ระยะปานกลาง ระยะสั้น (เผชิญเหตุ) อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความถี่การแจ้งเตือนตามความรุนแรงของสถานการณ์

 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ สทนช.

มาตรการที่ 2 ทบทวน ปรับปรุง เกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ อาคารควบคุมบังคับน้ำอย่างบูรณาการในระบบลุ่มน้ำ และกลุ่มลุ่มน้ำ (ก่อนฤดูฝนตลอดช่วงฤดูฝน)

(1) ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์และมาตรฐานการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ หลักเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) และเกณฑ์การระบายน้ำเขื่อน/อาคารระบายน้ำเชื่อมโยงกับระดับน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ

(2) บริหารจัดการน้ำในภาพรวมของกลุ่มลุ่มน้ำ เช่น จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำระดับลุ่มน้ำ และติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำทุกขนาดเพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำหรือเกณฑ์ควบคุม

(3) บริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำรองรับน้ำหลาก เช่น เตรียมความพร้อมการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ/แก้มลิง เป็นพื้นที่หน่วงน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก และจัดทำแผนการระบายน้ำ/แผนกักเก็บน้ำไว้ใช้ก่อนสิ้นฤดูฝน

(4) วางแผน ปรับปฏิทิน และควบคุมพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูฝนให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ โดยกำหนดแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ช่วงน้ำหลากและฝนทิ้งช่วง พร้อมแจ้งแผนให้ มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

 

อว. กษ. ทส. กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) กทม. สทนช. และคณะกรรมการลุ่มน้ำ

มาตรการที่ 3 เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ โทรมาตร บุคลากรประจำพื้นที่เสี่ยงและศูนย์อพยพให้สามารถรองรับสถานการณ์ในช่วงน้ำหลากและฝนทิ้งช่วง (ก่อนฤดูฝนตลอดช่วงฤดูฝน)

(1) เตรียมพร้อม วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือ ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง เช่น เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรในการเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมและช่วงฝนทิ้งช่วงให้สามารถให้ความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง และเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเข้าช่วยเหลือได้ทันสถานการณ์ รวมถึงติดตามวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและช่วงฝนทิ้งช่วงด้วยภาพถ่ายดาวเทียมและอากาศยานไร้คนขับ (UAV)

(2) เตรียมความพร้อม ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ โทรมาตร ให้พร้อมใช้งาน เช่น ตรวจสอบสภาพความมั่นคง และซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำ อาคารควบคุมบังคับน้ำ รวมทั้งระบบระบายน้ำ และตรวจสอบสถานีโทรมาตร ซ่อมแซมให้มีสภาพพร้อมใช้งาน สามารถตรวจวัดแสดงผล และเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้ในการติดตามสถานการณ์ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

(3) ปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ เช่น สำรวจ และจัดทำแผนดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ และปรับปรุงคูคลองเพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำและระบายน้ำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

(4) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำในพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่ว เช่น ลดการสูญเสียน้ำโดยการปรับปรุงวิธีการส่งน้ำและซ่อมแซมระบบการส่งน้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้น้ำ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด และปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงฝนทิ้งช่วง

 

กระทรวงกลาโหม (กห.) อว. กษ. กระทรวงคมนาคม (คค.) ดศ. ทส. พน. มท. กทม. สทนช. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

มาตรการที่ 4 ตรวจสอบพร้อมติดตามความมั่นคงปลอดภัย คันกั้นน้ำ ทำนบ พนังกั้นน้ำ (ก่อนฤดูฝนตลอดช่วงฤดูฝน)

(1) ตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรงของคันกั้นน้ำ ทำนบ พนังกั้นน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่เปราะบาง พร้อมทั้งซ่อมแซมและปรับปรุงให้มีสภาพพร้อมใช้งาน

(2) เตรียมแผนเสริมความสูง หรือก่อสร้างคันกั้นน้ำ ทำนบ พนังกั้นน้ำชั่วคราวหากจำเป็น

(3) จัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัย คันกั้นน้ำ ทำนบ พนังกั้นน้ำ ภายใต้คณะกรรมการลุ่มน้ำ ประกอบด้วยภาครัฐและภาคประชาชน

 

อว. คค. กษ. พน. มท. และ สทนช.

มาตรการที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของทางน้ำอย่างเป็นระบบ (ก่อนฤดูฝนตลอดช่วง ฤดูฝน)

(1) จัดทำแผนบูรณาการด้านเครื่องจักรเครื่องมือ/สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดวัชพืช ผักตบชวา และขยะในลำน้ำ

(2) ดำเนินการขุดลอกคูคลอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

(3) เชิญชวนประชาชนในชุมชนช่วยกันจัดเก็บหรือกำจัดวัชพืช ผักตบชวา และขยะในลำน้ำ

(4) มอบหมายคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการ กำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาผักตบชวาในช่วงก่อนฤดูฝนและระหว่างฤดูฝน 2567

(5) จัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำหลากกรณี ต่างๆ ในพื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่เปราะบาง

 

อว. กษ. คค. ทส. มท. กทม. และ สทนช.

มาตรการที่ 6 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ล่วงหน้าก่อนเกิดภัย และฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ (ตลอดช่วงฤดูฝน)

(1) ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ และจัดเตรียมพื้นที่อพยพ

(2) ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย เช่น ตั้งศูนย์บัญชาการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้า สำหรับเผชิญเหตุ เพื่อเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการสถานการณ์

(3) วางแผนกำหนดแนวทางการฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ

 

กห. อว. กษ. ดศ. ทส. มท. นร. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และสทนช.

มาตรการที่ 7 เร่งพัฒนาและเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภทช่วงปลายฤดูฝน (ภายในเดือนพฤษภาคมพฤศจิกายน 2567)

(1) เร่งเก็บน้ำ/สูบทอยน้ำส่วนเกินในช่วงปลายฤดูฝนไปเก็บในลำน้ำ และแหล่งน้ำทุกประเภทไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง

(2) บริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ/แหล่งน้ำตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) หรือเต็มศักยภาพเก็บกัก

(3) พัฒนาแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ บ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล เป็นต้น เพื่อใช้เป็นน้ำต้นทุนในช่วงฤดูแล้งถัดไป

(4) ดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ในการสูบผันน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

 

กษ. ทส. พน. และมท.

มาตรการที่ 8 สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการให้ข้อมูลสถานการณ์ (ก่อนฤดูฝนตลอดช่วงฤดูฝน)

(1) ให้องค์ความรู้ภาคประชาชนในการติดตาม เฝ้าระวัง และแจ้งข้อมูลในพื้นที่

(2) สร้างเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ เพื่อแจ้งข้อมูลสถานการณ์

(3) สร้างช่องทางในการส่งข้อมูล/แจ้งข้อมูลสถานการณ์

(4) ซักซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับท้องถิ่น

 

ทส. มท. กทม. สทนช. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและคณะกรรมการลุ่มน้ำ

มาตรการที่ 9 การสร้างการรับรู้ ศูนย์บริการข้อมูลสถานการณ์น้ำ และประชาสัมพันธ์ (ก่อนฤดูฝนตลอดช่วงฤดูฝน)

(1) สร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ช่วงฤดูฝน ปี 2567 ให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้และเข้าใจผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด องค์กรผู้ใช้น้ำ เครือข่ายต่างๆ และประชาชน

(2) จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลสถานการณ์น้ำและดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยง

(3) สร้างการรับรู้ที่เข้าใจง่าย เช่น รูปแบบภาษาถิ่น

 

ทส. มท. นร. กทม. สทนช. และคณะกรรมการลุ่มน้ำ

มาตรการที่ 10 ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย (ตลอดช่วงฤดูฝน)

(1) กำหนดประเด็นตัวชี้วัดการดำเนินการ(กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์)

(2) ติดตาม วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนอย่างใกล้ชิด

(3) ติดตามการดำเนินงานและสรุปผล เพื่อปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย

 

สทนช.

 

               2.2 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 สรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

 

(1) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย ปี 2567 

(2) เพื่อซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

(3) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568

พื้นที่เป้าหมาย

 

(1) พื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัย ตามที่ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด

(2) พื้นที่เสี่ยงที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนตามคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดพิจารณาเห็นสมควร

ระยะเวลาดำเนินการ

 

120 วัน นับตั้งแต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ

กิจกรรม และประเภท

แผนงานโครงการ

 

แบ่งกิจกรรมไว้ทั้งหมด 5 กิจกรรม เพื่อสรุป วิเคราะห์ กลั่นกรองและจัดกลุ่มแผนงานโครงการ ให้สอดคล้องกับการดำเนินการของแต่ละกิจกรรม ดังนี้

(1) การซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การควบคุมการระบายน้ำและการกักเก็บน้ำ ให้เกิดประสิทธิภาพรองรับสถานการณ์น้ำหลาก เช่น ซ่อมแซม/ปรับปรุงพนังกันน้ำ คันกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ คลองส่ง/ระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำ สถานีโทรมาตร เป็นต้น

(2) การปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ และกำจัดผักตบชวา เป็นงานที่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งสิ่งกีดขวางที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การระบายน้ำ การจัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ เช่น การกำจัดผักตบชวา/วัชพืชน้ำ เป็นต้น

(3) การขุดลอกคูคลอง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เช่น ขุดลอกคู คลอง ลำน้ำ แก้มลิง เป็นต้น

(4) การเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เป็นการเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือที่มีอยู่แล้วให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานรองรับสถานการณ์น้ำหลาก เช่น ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ เป็นต้น

(5) การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อเก็บกักไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เป็นการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อรองรับน้ำส่วนเกินในช่วงฤดูฝน สำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งถัดไป เช่น สระ/อ่างเก็บน้ำ ระบบกระจายน้ำ ขุดเจาะบ่อบาดาล ปฏิบัติการฝนหลวง เป็นต้น

การติดตามและประเมินผล

 

(1) แผนงานโครงการที่ดำเนินการโดยจังหวัด หรือจังหวัดให้หน่วยงานอื่นเบิกจ่ายแทน ให้จังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ รวบรวมวิเคราะห์ สรุป จัดทำรายงานความก้าวหน้า

(2) แผนงานโครงการที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบ รวบรวม วิเคราะห์ สรุปและจัดทำรายงานความก้าวหน้า

(3) แผนงานโครงการที่ดำเนินการโดยส่วนราชการ ให้หน่วยงานต้นสังกัดของหน่วยงานรับงบประมาณ เป็นผู้รับผิดชอบ รวบรวม วิเคราะห์ สรุป จัดทำรายงานความก้าวหน้า

โดยให้รายงานความก้าวหน้าการขอรับการจัดสรรงบประมาณ และรายงานผลการดำเนินงานให้ สทนช. ทราบ ทุกวันที่ 1 ของทุกเดือนจนกว่าการดำเนินโครงการจะแล้วเสร็จ

 

หมายเหตุ: สทนช. จะไม่พิจารณาแผนงานโครงการที่ไม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเช่น งานด้านซ่อม/ปรับปรุงถนน หรืออาคารสิ่งปลูกสร้างบ้านที่พักอาศัย/สำนักงาน งานปรับปรุงภูมิทัศน์ เป็นต้น 

 

 

           3. กนช. ในการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 มีมติเห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 และให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป โดยให้หน่วยงานเร่งดำเนินการ เช่น

               3.1 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 หลังจาก กนช. ให้ความเห็นชอบมาตรการดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการดังกล่าวให้ สทนช. ทราบทุกวันที่ 5 ของเดือนโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูฝน เพื่อให้การขับเคลื่อนมาตรการเป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

               3.2 ให้หน่วยงานเตรียมแผนงานโครงการและความพร้อมของโครงการให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ทันต่อสถานการณ์และเป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 4 มิถุนายน 2567

 

 

6115

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!