หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 18


ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษารูปแบบ Fast Track สำหรับบุคคลที่มีสมรรถะสูง ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษารูปแบบ Fast Track สำหรับบุคคลที่มีสมรรถะสูง ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป 

          เรื่องเดิม 

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษารูปแบบ Fast Track สำหรับบุคคลที่มีสมรรถนะสูงของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่า การศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษารูปแบบ Fast Tack สำหรับบุคคลที่มีสมรรถนะสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้เรียนการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และศึกษาแนวทางการเทียบประสบการณ์บุคคลที่มีสมรรถนะสูง เช่น กีฬา ดนตรี และศิลปะ สู่การศึกษาระบบ Fast Track เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ กศน. สำหรับบุคคลที่มีสมรรถนะสูงจึงได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

              1.1 ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษารูปแบบ Fast Track สำหรับบุคคลที่มีสมรรถนะสูง เช่น การกำหนดคุณวุฒิการศึกษาตามระดับสมรรถนะ ควรจัดตั้งคณะทำงานจัดทำกรอบคุณวุฒิการศึกษาตามระดับสมรรถะ เพื่อทำหน้าที่เทียบสมรรถนะกับคุณวุฒิการศึกษาให้กับบุคคลที่มีสมรรถนะสูง รวมถึงควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีแพลตฟอร์มสำหรับผู้มีสมรรถะสูงและคนไทยทุกระดับให้เข้ารับการพัฒนาและเทียบระดับสมรรถนะ

              1.2 ข้อเสนอเชิงนโยบายการเทียบระดับการศึกษา เช่น การจัดการเรียนการสอนควรทำในรูปแบบออนไลน์ (Online) เพื่อแก้ไขสภาพปัญหาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในขณะนั้น สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ศธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงแรงงาน (รง.) และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง

          ศธ. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภาและได้มีความเห็นเพิ่มเติมโดยสรุปได้ ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของกรรมาธิการฯ

 

ผลการพิจารณา

1. ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษารูปแบบ Fast Track สำหรับบุคคลที่มีสมรรถนะสูง    

        1.1 ควรมีหลักการในการจัดทำกรอบคุณวุฒิทางการศึกษาโดยกำหนดให้สมรรถนะเป็นผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Learning Outcomes)

 

- เห็นว่า กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มีความครอบคลุมคุณวุฒิต่างๆ ในประเทศ ได้แก่ คุณวุฒิทางการศึกษาและมาตรฐานอาชีพ ดังนี้

        1) คุณวุฒิทางการศึกษา ประกอบด้วย (1) คุณวุฒิทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) คุณวุฒิทางการศึกษาระดับการศึกษาอาชีวศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและ (3) คุณวุฒิทางการศึกษาระดับการอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

        2) มาตรฐานอาชีพ ประกอบด้วย (1) มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (2) มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ของกระทรวงแรงงาน (3) กรอบสมรรถนะอาเซียนด้านการท่องเที่ยว และ (4) มาตรฐานวิชาชีพขององค์กรวิชาชีพหรือมาตรฐานอาชีพของสถานประกอบการ

- ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการที่สอดรับกับข้อเสนอนี้ กล่าวคือ

        1) อว. ได้ออกประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการดำเนินงานคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา .. 2565 และได้ออกประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา .. 2565 และอยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาระบบคลังหน่วยกิตกลางในระดับอุดมศึกษา รวมถึงได้จัดทำแนวทางในการส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตระดับอุดมศึกษาเพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการศึกษาในรูปแบบดังกล่าว

        2) รง. ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตร Re - Skill และ Up- skill ซึ่งนำไปสู่กลไกการขับเคลื่อนระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) ของภาคแรงงาน และด้านการขับเคลื่อนงานตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework : NQF)

        3) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) มีแนวคิดจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐบาลในการยกระดับทักษะความรู้ความสามารถ กำลังคนของชาติให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการที่จะเน้นสมรรถนะในการทำงาน และได้กำหนดกรอบคุณวุฒิการศึกษา (Professional Qualification Framework) ให้รองรับสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมและเป็นกลไกเชื่อมโยงเทียบเคียงระบบคุณวุฒิการศึกษาในระดับประเทศและระดับสากล

        4) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้จัดทำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง) โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (18 เมษายน 2560) เพื่อใช้เป็นกลไกในการเชื่อมโยงระบบการเรียนรู้ของภาคการศึกษาให้ยึดโยงกับมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ตลาดแรงงานยอมรับ อีกทั้งได้จัดทำแผนปฏิบัติด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ .. 2562-2565 เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาความร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมอันจะนำไปสู่การจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐนตรี (29 ธันวาคม 2563)

        1.2 ควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีแพลตฟอร์มสำหรับผู้มีสมรรถนะสูงและคนไทยทุกระดับให้เข้ารับการพัฒนาและเทียบระดับสมรรถนะโดยมีการออกแบบเพื่อให้คนไทย Up - Skill และ Re - Skill ได้ทุกที่ทุกเวลา ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

- ข้อเสนอดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ศธ. โดยได้ทดลองนำร่องจัดตั้งธนาคารหน่วยกิตระดับจังหวัดใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อสร้างระบบการสะสมและการเทียบโอนหน่วยการเรียนทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบให้มีความยืดหยุ่นหลากหลายในช่วงวัยเรียน และวัยทำงานโดยจะมีการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อพร้อมรองรับได้อย่างสะดวก และง่ายต่อการดำเนินการ

2. ข้อเสนอเชิงนโยบายการเทียบระดับการศึกษา

        การจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ (Online) เพื่อแก้ไขสภาพปัญหาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีสมรรถนะสูงสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้อย่างต่อเนื่องทุกที่ทุกเวลา

 

การจัดการศึกษาในสถานการณ์ปัจจุบันโดยเฉพาะในมิติของการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เป็นมิติสำคัญที่ทั่วโลกและประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะความยากลำบากในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ข้อเสนอในด้านการส่งเสริม และการขยายการเทียบโอนให้แก่ผู้เรียนที่มีสมรรถนะสูงที่พลาด และขาดโอกาสจากการเรียนในระบบการศึกษา ทั้งในมิติของระดับการศึกษาที่ควรขยายฐานไปถึงระดับอุดมศึกษาและมิติในเชิงปริมาณที่ควรมีกฎระเบียบที่ยืดหยุ่นหลากหลายเพื่อสามารถส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีช่องทางพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้ที่มีสมรรถะสูงสามารถนำศักยภาพของตนเองไปใช้พัฒนาสังคม และประเทศชาติให้ก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 4 มิถุนายน 2567

 

 

6123

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!